- This event has passed.
กรมชลประทาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 43 อัตรา,
17 กันยายน 2022 - 30 กันยายน 2022
กรมชลประทาน เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ บัดนี้-30 ก.ย. 2565 รวม 43 อัตรา,
กรมชลประทาน
ลิงค์: https://ehenx.com/17526/ หรือ
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน(ด้านไฟฟ้ากำลัง),เจ้าพนักงานอุทกวิทยาปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน(พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้),นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน(พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้),เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน(พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 43
ปฏิบัติงานที่:
เปิดรับสมัครตั้งแต่: บัดนี้ – 30 ก.ย. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมชลประทาน เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในกรมชลประทาน
ด้วยกรมชลประทาน จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งต่างๆ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหา โดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล เข้ารับราชการในกรมชลประทาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นิติกรปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 7 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 10 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 6 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน (ด้านไฟฟ้ากำลัง)
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานอุทกวิทยาปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 4 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 5 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11500-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นิติกรปฏิบัติการ
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ และ ๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
๑. ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ สาขาวิชาการก่อสร้าง หรือสาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน (ด้านไฟฟ้ากำลัง)
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
เจ้าพนักงานอุทกวิทยาปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไนระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจเกษตรและสหกรณ์ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชา เกษตรอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาช่างกลเกษตร หรือ อนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ สาขาวิชาการก่อสร้าง หรือสาขาวิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได็ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
๑. ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจเกษตรและสหกรณ์ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชา เกษตรอุตสาหกรรม สาขาวิชาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาช่างกลเกษตร หรือ อนุปริญญาหลักสูตร ๓ ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือสูงกว่า
นิติกรปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นแกํผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือ หรือวินิจฉัยปัญหา กฎหมายเกี่ยวกับระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูล สนับสนุนการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับ หน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึง ความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็น ใน การดำเนินการเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์ การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ และการดำเนินคดีของหน่วยงานเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของ หน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเปัาหมายผลสัมฤทธํ่ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ๋ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้าง ความเข้าใจในข้อกฎหมายที,เป็นปัญหา และให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ กับการดำเนินงานของบุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานต้านวิชาการเงินและบัญชี ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอก งบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีการ บัญชีของส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุง ข้อมูลให้ถูกต้องและทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก่หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรร งบประมาณตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้การใช้ จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญ การรับ – จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ ของราชการ
(๖) ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเงินและบัญชี แกเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและฟิกอบรม จัดทำคู่มือประจำสำหรับการ ฟิกอบรมและวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดความร้ที่เปีนประโยชน์ในการปฏิบัติงานตาม มาตรฐานและข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานขอหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมถุทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนดไว้
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา และชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตน มีความรับผิดชอบ ในระดับเบื้องต้น แก,หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบ สารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และ ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างชลประทาน ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจข้อมูลเพื่อ ดำเนินการส่งนํ้า ระบายนํ้า การก่อสร้าง ปรับปรุงและ บำรุงรักษาระบบชลประทาน ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ทุกภาคส่วน
(๒) ศึกษา ทดสอบ สภาพนํ้า เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และตรวจสอบอาคาร ชลประทาน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพ
(๓) ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรชลประทาน การมีส่วนร่วมองค์กร ผู้ใช้นํ้าเพื่อให้การชลประทานกระจายให้ทั่วถึงเพียงพอต่อการเกษตร และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
(๔) รวบรวม จัดเก็บ สถิติข้อมูล เกี่ยวกับชลประทาน เพื่อใช้ในการปรับปรุง พัฒนาระบบชลประทาน และการบริหารจัดการ
(๕) ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยจากนํ้า เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความ เดือดร้อนของราษฎรที่ประสบภัยจากนํ้า
(๖) จัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาแหล่งนํ้า และบริหาร จัดการนํ้าที่มีประสิทธิภาพ
๒. ด้านบริการ
(๑) ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้นํ้าชลประทานและผึเกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ เรื่องการใช้นํ้าอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้นํ้าร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเถิดประโยชน์สูงสุด
(๒) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงาน ชลประทานที่ตนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ ด้านงานชลประทาน แก่ผู้ที่สนใจ
(๓) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกสารหรือประชาชน ทั่วไป เพื่อให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานชลประทาน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างโยธา ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ ออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษาโครงการก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อให้ตรงตามหลักวิชาช่าง ความต้องการของหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับ
(๒) ตรวจสอบ แก่ไข และกำหนดรายละเอียดของงานให้ตรงกับแบบรูปและ รายการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ถอดแบบ เพื่อสำรวจปริมาณวัสดุที่ใช้ตามหลักวิชาช่าง เพื่อประมาณราคา ค่าก่อสร้าง
(๔) ควบคุมงานก่อสร้าง งานปรับปรุง และซ่อมแซม หรือตรวจการจ้างตามที่ ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานความก้าวหน้าของงาน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด
(๕) รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยในงานด้านช่าง
๒. ด้านบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและนิกอบรมเกี่ยวกับงานโยธาที่ตนมีความ รับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ และมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชนหรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานโยธา และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ ต่อการทำงานของหน่วยงานและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ รังวัด คำนวณ ตรวจสอบ จัดทำ แผนผัง เพื่อให้ทราบ รายละเอียด และเป็นไปตามแบบที่กำหนด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) แก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ เป้าหมายของงานที่กำหนดไว้
(๓) วัดระดับของภูมิประเทศ วางโครงข่ายหมุดหลักฐาน เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของหน่วยงาน
(๔) บันทึกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ และรายงานผลเพื่อ ติดตาม ความก้าวหน้าของงาน
(๕) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และ รายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ เพื่อให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้อง
๒. ด้านบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไป แก่บุคลากร ทุกสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุม การใช้งาน ดูแลบำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบ เครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสาร และโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(๒) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติชองการใช้งาน เพื่อการ วางแผนบำรุงรักษา
(๓) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรอง ตามทีหน่วยงานหรือกฎหมายกำหนด
๒. ด้านบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก หน่วยงานเพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน (ด้านไฟฟ้ากำลัง)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้า ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุม การใช้งาน ดูแลบำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบ เครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสาร และโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(๒) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการ วางแผนบำรุงรักษา
(๓) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรอง ตามทีหน่วยงานหรือกฎหมายกำหนด
๒. ด้านบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ใช้งานและผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก หน่วยงานเพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
เจ้าพนักงานอุทกวิทยาปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านอุทกวิทยา ตามแนว แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบตในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจข้อมูลด้านอุทกวิทยาเพื่อจัดเก็บเป็นสถิติด้านทรัพยากรนํ้าไว้ วิเคราะห์ทางอุทกวิทยา
(๒) ประมวลและตรวจสอบข้อมูลสถิติ ด้านอุทกวิทยาเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจัยได้
(๓) ตรวจสอบ และรวบรวมรายงานทางด้านอุทกวิทยาในแต่ละเดือนเพื่อส่ง รายงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำไปวิเคราะห์และพยากรณ์ต่อไป
(๔) ปรับปรุง ซ่อมแซม สถานีสำรวจข้อมูลด้านอุทกวิทยาและอุตุวิทยาเพื่อให้มี สภาพที่ดีและพร้อมใช้งาน
(๕) ดำเนินการเสนอช้อสารสนเทศด้านอุทกวิทยาผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปวิเคราะห์และพยากรณ์ไห้ทันต่อสถานการณ์
๒. ด้านบริการ
(๑) ประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
(๒) บริการข้อมูลทางอุทกวิทยาแก่หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านเกษตร ตามแนว แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ช่วยทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ทดลอง ทดสอบ วิเคราะห์ ตรวจสอบ รับรอง ทางด้านวิชาการเกษตร เพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
(๒) ผลิต และให้บริการ ด้านพืช ไหม และปัจจัยการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตตาม เป้าหมาย และมีคุณภาพตามมาตรฐาน
(๓) ปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร เช่น การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย การพัฒนาที่ดิน การส่งเสริมการเกษตร การจัดการไร่นา การใช้นํ้าชลประทาน เป็นต้น เพื่อสนับสนุนงาน วิชาการและเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร
(๔) ช่วยวางแผน ส่งเสริมการผลิต และจัดทำโครงการสนับสนุน การผลิตของ เกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
๒. ด้านบริการ
(๑) สาธิต แนะนำ ส่งเสริม และจัดทำโครงการสนับสนุน การผลิตของ เกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา การเกษตรเพื่อให้มีการแกไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาปฏิบัติงานพัสดุ ตามแนวทาง แบบอย่างขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจนภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานขั้นต้นเกี่ยวกับงานพัสดุในการจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อให้อยู่สภาพดีพร้อม ต่อการใช้งาน
(๒) ทำทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญหลักฐานและเอกสาร เกี่ยวกับพัสดุ เพื่อรวบรวม ไว้เป็นข้อมูลในการดำเนินงาน
(๓) ร่างและตรวจซื้อสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่อง เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงาน
(๔) รายงาน สรุปความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อจัดทำงานรายงาน และนำเสนอ ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
(๕) ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อร่วมพัฒนาให้มีระเบียบ การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(๖) ซื้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงานพัสดุให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
๒. ด้านบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ แก่ผู้ร่วมงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจอันดีในการปฏิบัติงาน และให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง
(๒) ประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกัน ต่างหน่วยงาน หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการ หรือขอความช่วยเหลือในด้านที่ตนรับผิดชอบ
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างชลประทาน ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจข้อมูลเพื่อ ดำเนินการส่งนํ้า ระบายนํ้า การก่อสร้าง ปรับปรุงและ บำรุงรักษาระบบชลประทาน ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ทุกภาคส่วน
(๒) ศึกษา ทดสอบ สภาพนํ้า เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และตรวจสอบอาคาร ชลประทาน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพ
(๓) ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรชลประทาน การมีส่วนร่วมองค์กร ผู้ใข้นี้าเพื่อให้การชลประทานกระจายให้ทั่วถึงเพียงพอต่อการเกษตร และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
(๔) รวบรวม จัดเก็บ สถิติข้อมูล เกี่ยวกับชลประทาน เพื่อใช้ในการปรับปรุง พัฒนาระบบชลประทาน และการบริหารจัดการ
(๕) ดำเนินการปัองกันและบรรเทาภัยจากนํ้า เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความ เดือดร้อนของราษฎรที่ประสบภัยจากนํ้า
(๖) จัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาแหล่งนํ้า และบริหาร จัดการนํ้าที่มีประสิทธิภาพ
๒. ด้านบริการ
(๑) ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้นํ้าชลประทานและผิกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ เรื่องการใช้นํ้าอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้นํ้าร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเถิดประโยชน์สูงสุด(๒) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงาน
ชลประทานที่ตนมีความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ ด้านงานชลประทาน แก่ผู้ที่สนใจ
(๓) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกสารหรือประชาชน ทั่วไป เพื่อให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานชลประทาน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญา ปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ตามแนวทาง แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ รังวัด คำนวณ ตรวจสอบ จัดทำ แผนผัง เพื่อให้ทราบ
รายละเอียด และเป็นไปตามแบบที่กำหนด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) แก้ไขปัญหาเบื้องต้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และ เป้าหมายของงานที่กำหนดไว้
(๓) วัดระดับของภูมิประเทศ วางโครงข่ายหมุดหลักฐาน เพื่อสนับสบุน การปฏิบัติงานของหน่วยงาน
(๔) บันทึกข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ และรายงานผลเพื่อ ติดตาม ความก้าวหน้าของงาน
(๕) กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และ รายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ เพื่อให้ข้อมูลทั่โด้มีความถูกต้อง
๒. ด้านบริการ
(๑) ให้คำปรึกษา แนะนำทั้งในเชิงทักษะเฉพาะด้านและทักษะทั่วไป แก่บุคลากร ทุกสายงาน เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีทักษะเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
(๒) ติดต่อประสานกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้นซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จระดับปริญญา ปฏิบัติงานด้านเกษตร ตามแนว แบบอย่าง ขั้นตอน และวิธีการที่ชัดเจน ภายใต้การกับ แนะนำ ตรวจสอบ และ ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ช่วยทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ทดลอง ทดสอบ วิเคราะห์ ตรวจสอบ รับรอง ทางด้านวิชาการเกษตร เพื่อให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
(๒) ผลิต และให้บริการ ด้านพืช ไหม และปัจจัยการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตตาม เปัาหมาย และมีคุณภาพตามมาตรฐาน
(๓) ปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร เช่น การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย การพัฒนาที่ดิน การส่งเสริมการเกษตร การจัดการไร่นา การใช้นํ้าชลประทาน เป็นต้น เพื่อสนับสนุนงาน วิชาการและเผยแพร่ความรู้แก่เกษตรกร
(๔) ช่วยวางแผน ส่งเสริมการผลิต และจัดทำโครงการสนับสนุน การผลิตของ เกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
๒. ด้านบริการ
(๑) สาธิต แนะนำ ล่งเสริม และจัดทำโครงการสนับสนุน การผลิตของ เกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
(๒) ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ และแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา การเกษตรเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
นิติกรปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
๒. ประมวลกฎหมายอาญา
๓. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๔. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๕. พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. ๒๔๘๕ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๖. พระราขบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๗. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอพ่ต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครชอพ่ต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอพ่ด์พาวเวอร์พอยตํ
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเช้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี
๑.๑ ความรู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบด้านการบัญชี การเงินการคลังภาครัฐ และความรู้ด้าน การจัดทำแผนงานและการติดตามประเมินผล การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน การเงิน บัญชี การวิเคราะห์ระบบบัญชี และการพัสดุ
๑.๒ ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒
๑.๓ ความรู้เกี่ยวกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ๑.๔ ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๑.๕ ความรู้เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. ๒๕๔๖
๑.๖ ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครชอฟตํเวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟท์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟท์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเช้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างชลประทาน ปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบวิศวกรรม การเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ การสำรวจทางวิศวกรรม การออกแบบโครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็กและอาคารชลประทาน การออกแบบระบบส่งนํ้าและระบายนํ้า การประมาณราคา วัสดุทางด้านวิศวกรรมและการทดสอบ การวางแผน และควบคุมงานก่อสร้าง การบริหารจัดการนํ้าและหลักอุทกวิทยาเบื้องต้น หลักการชลประทานเบื้องต้น หลักการทางชลศาสตร์เบื้องต้น กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานชลประทาน การพิจารณาโครงการ การศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน และการขออนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้าง
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟตํเวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครชอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างโยธาปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเช้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างโยธาปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้างเบื้องต้น การเขียนแบบวิศวกรรม การเขียนแบบ วิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ การออกแบบและคำนวณโครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก วัสดุทางด้านวิศวกรรมและการทดสอบ การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การวิเคราะห์และประมาณราคางาน ก่อสร้าง การวางแผนและควบคุมงานก่อสร้าง
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรม ไมโครชอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟตํพาวเวอร์พอยต์
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างสำรวจปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. การทดสอบความรู้เกี่ยวกับงานวงรอบ ได้แก่ การวงรอบชนิดต่าง ๆ การวัดมุมและปรับแก้ มุม การวัดระยะ และปรับแก้ระยะ ชั้นหรือเกณฑ์ของงานวงรอบ ความรู้เกี่ยวกับงานระดับได้แก่ การแบ่งชั้น ของการทำระดับ การทำระดับโดยวิธีการวัดค่าต่างระดับ (Differential leveling) และการตรวจสอบระดับ และการปรับแก้งานระดับ ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจรูปตัดตามยาวและรูปตัดขวาง การทำรายละเอียด การคำนวณและเขียน การคำนวณพื้นที่จากค่าพิกัดฉาก หลักการเขียนภูมิประเทศจากข้อมูล สำรวจ การรังวัดหมุดหลักฐานโดยดาวเทียมเบื้องต้น รูปถ่ายทางอากาศ ได้แก่ การคำนวณมาตรา ส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศ ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศในงาน หลักการแปลภาพถ่ายทางอากาศ การปรับแก้ภาพถ่ายทางอากาศ (RECTIFY) ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ความรู้ เกี่ยวกับการสำรวจระยะไกล (Remote sensing) ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจทำโดยอากาศยานไร้คนขับ (Drone Mapping) และความรู้ด้านการรังวัดด้วยสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ในทันที่ (Real Time Kinematic)
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครชอฟตํเวิร์ด โปรแกรม ไมโครชอฟตํเอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครชอฟตํพาวเวอร์พอยต์
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
ด. ความรู้เกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และความรู้เกี่ยวกับงานด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และเครือข่าย และด้านสื่อสารโทรคมนาคม
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครชอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟตํเอกช์เซล และโปรแกรมไมโครชอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน (ด้านไฟฟ้ากำลัง)
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
(ด้านไฟฟ้ากำลัง) โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น มอเตอร์ไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ระบบเสียง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โทรคมนาคมเบื้องต้น ระบบวิทยุกระจายเลียง ระบบโทรทัศน์ ระบบสายอากาศ การซ่อมบำรุงรักษาระบบเครื่องปรับอากาศ การดูแลแปลนระบบไฟฟ้าอาคาร ด้านการประหยัดพลังงานในอาคารสำนักงาน
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครชอฟตํเวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครชอฟต์พาวเวอร์พอยต์
เจ้าพนักงานอุทกวิทยาปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานอุทกวิทยา ปฏิบติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับงานอุทกวิทยา ประกอบด้วย ระบบลุ่มนํ้า ะ วัฏจักรนํ้า ลักษณะภูมิกายภาพ เครื่องมือและวิธีการตรวจวัด การตรวจข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางอุทกวิทยา
๒. ความรู้เกี่ยวกับงานโยธา ประกอบด้วย การบำรุงรักษาสถานีวัดนํ้า การรังวัดในงานสำรวจ และ และการบริหารการจัดการก่อสร้าง
๓. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกช์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร ปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการเกษตรทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับดินนํ้าและพืช การใช้พื้นที่ทาง การเกษตร การขยายพันธุพืช เครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทาง การเกษตร
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓. ความรู้เกี่ยวกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
๔. ความรู้เกี่ยวกับหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายงบประมาณ
๕. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครชอฟตํเวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟตํเอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างชลประทาน ปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบวิศวกรรม การเขียนแบบวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์ การสำรวจทางวิศวกรรม การออกแบบโครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็กและอาคารชลประทาน การออกแบบระบบส่งนํ้าและระบายนํ้า การประมาณราคา วัสดุทางด้านวิศวกรรมและการทดสอบ การวางแผน และควบคุมงานก่อสร้าง การบริหารจัดการนํ้าและหลักอุทกวิทยาเบื้องต้น หลักการชลประทานเบื้องต้น หลักการทางชลศาสตร์เบื้องต้น กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานชลประทาน การพิจารณาโครงการ การศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดหาที่ดินเพื่อการชลประทาน และการขออนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้าง
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟตํเวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งนายช่างสำรวจปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. การทดสอบความรู้เกี่ยวกับงานวงรอบ ได้แก่ การวงรอบชนิดต่าง ๆ การวัดมุมและปรับแก้ มุม การวัดระยะ และปรับแก้ระยะ ชั้นหรือเกณฑ์ของงานวงรอบ ความรู้เกี่ยวกับงานระดับได้แก่ การแบ่งชั้น ของการทำระดับ การทำระดับโดยวิธีการวัดค่าต่างระดับ (Differential leveling) และการตรวจสอบระดับ และการปรับแก้งานระดับ ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจรูปตัดตามยาวและรูปตัดขวาง การทำรายละเอียด การคำนวณและเขียน การคำนวณพื้นที่จากค่าพิกัดฉาก หลักการเขียนภูมิประเทศจากข้อมูล สำรวจ การรังวัดหมุดหลักฐานโดยดาวเทียมเบื้องต้น รูปถ่ายทางอากาศ ได้แก่ การคำนวณมาตรา ส่วนบนรูปถ่ายทางอากาศ ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศในงาน หลักการแปลภาพถ่ายทางอากาศ การปรับแก้ภาพถ่ายทางอากาศ (RECTIFY) ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ความรู้ เกี่ยวกับการสำรวจระยะไกล (Remote sensing) ความรู้เกี่ยวกับการสำรวจทำโดยอากาศยานไร้คนขับ (Drone Mapping) และความรู้ด้านการรังวัดด้วยสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ในทันที่ (Real Time Kinematic)
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครชอฟต์เวิร์ด โปรแกรม ไมโครชอฟต์เอกซ์เซล และโปรแกรมไมโครซอฟต์พาวเวอร์พอยต์
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ทดสอบความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานการเกษตร ปฏิบัติงาน โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังนี้
๑. ความรู้เกี่ยวกับงานด้านการเกษตรทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับดินนํ้าและพืช การใช้พื้นที่ทาง การเกษตร การขยายพันธุพืช เครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทาง การเกษตร
๒. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้งาน ออนไลน์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด โปรแกรมไมโครซอฟต์เอกช์เซล และโปรแกรมไมโครชอฟต์พาวเวอร์พอยต์
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 30 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร
ตำแหน่ง: นิติกรปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน,นายช่างโยธาปฏิบัติงาน,นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน(ด้านไฟฟ้ากำลัง),เจ้าพนักงานอุทกวิทยาปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน,นายช่างชลประทานปฏิบัติงาน(พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้),นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน(พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้),เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน(พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
ระดับการศึกษา: ปวส.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,500-16,500
อัตราว่าง: 43
ปฏิบัติงานที่: ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ บัดนี้ – 30 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร